Ruay เว็บรวย หวยออนไลน์ lottovip เว็บล็อตโต้วีไอพี mhandee lottoup
lottoup หวยออนไลน์ ได้เงินจริง

สงกรานต์4ภาค วันหยุดสงกรานต์ 64 ประเพณี และ ความเชื่อ

อีกหนึ่งเทศกาลของไทย ที่ทุกคนต่างเฝ้ารอคอยนั่นก็คือ วันสงกรานต์ 64 หรือวันปีใหม่ของไทย ซึ่ง สงกรานต์4ภาค น่าไปเที่ยวอย่างมาก แต่จะว่าไปหากไม่เกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันนี้ เราทุกคนคงจะได้เล่นน้ำกันให้ชุ่มฉ่ำปอดคลายร้อนกันไปกับ 5 ที่เที่ยว สงกรานต์ 2564 

แต่เนื่องจากการระบาดที่เกิดขึ้น ทำให้กิจกรรมสุดสนุกอย่างการสาดน้ำต้องถูกระงับไป เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง แต่ถึงกระนั้นประเพณีที่ดีงามอย่าง การสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ก็ยังคงทำได้อยู่ แต่ในเป็นไปในแบบ New Normal ที่ต้องเข้มในการป้องกันตนเอง

แห่พระพุทธรูป

เอาละแม้ว่าสงกรานต์ในปีนี้จะไม่เหมือนเดิม แต่เทศกาลนี้ก็ถือว่ายังมีความหมายและสำคัญสำหรับคนไทยอยู่ ซึ่งประเพณีสงกรานต์นั้นแม้จะมีชื่อเหมือนกัน แต่เชื่อไหม? ละว่าแต่ละภาคแต่ละพื้นที่ ก็มีความเชื่อวันสงกรานต์ที่ไม่เหมือนกันอยู่ วันนี้ lekdedonline ก็เลยจะพาไปทำความรู้จักกับประเพณีสงกรานต์ของคนไทยแต่ละภาคกัน

สงกรานต์ภาคเหนือ

ชายหญิงเล่นน้ำ

เริ่มต้นที่ภาคเหนือบนสุดของประเทศไทย ตั้งแต่สมัยโบราณเป็นต้นมาชาวล้านนาจะเรียกวันสงกรานต์ว่า “ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง” ในวันนี้ชาวล้านนาจะหยุดการทำงาน เพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์ โดยจะมีพิธีทางศาสนา พิธีกรรม รวมไปถึงการละเล่นต่าง ๆ ซึ่งจะมีระยะเวลายาวถึง 5 วันเป็นอย่างต่ำ ดังนี้

  • วันสังขารล่อง วันที่ 13 เมษายน ถือว่าเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ ชาวล้านนาจะทำการทำความสะอาดบ้าน รวมถึงการสรงน้ำพระพุทธรูปในบ้าน จากนั้นพ่ออุ้ยแม่อุ้ยจะเรียกลูกหลานมาอธิษฐาน ไล่สิ่งไม่ดีให้พ้นไปกับวันสงกรานต์ จากนั้นจะพากันออกไปเที่ยวเรียกว่า “แอ่วปีใหม่”
  • วันเนา หรือวันเน่า วันที่ 14 เมษายน ตามประเพณีดั้งเดิมในวันนี้ ชาวล้านนาจะทำแต่เรื่องที่เป็นมงคล ห้ามทะเลาะวิวาท ใช้คำพูดที่สุภาพ พูดแต่เรื่องดี ๆ และจะจัดเตรียมทำอาหารชนิดต่าง ๆ ทาน ในตอนบ่ายก็จะทำการขนทรายเข้าวัด เล่นน้ำ ประดับตกแต่งด้วยตุงที่มีสีสันสดใส โดยมีความเชื่อว่า หากผู้ใดบริจาคทานบูชาตุง เมื่อตายไปจะได้ชายธงช่วยให้พ้นจากนรก
  • วันพญาวัน หรือวันเถลิงศก วันที่ 15 เมษายน ในวันนี้ชาวล้านนาจะตื่นขึ้นมาแต่เช้าเพื่อทำอาหารไปทำบุญตักบาตรที่วัด อุทิศบุญให้กับบรรพบุรุษ เรียกว่า “ตานขันข้าว” ช่วงบ่ายจะเป็นการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ เรียกว่า “สุมาคารวะ” ลูกหลานจะมาขอขมาต่อญาติผู้ใหญ่
  • วันปากปี วันที่ 16 เมษายน เป็นวันที่เริ่มต้นปีใหม่ ทำการสรงน้ำพระตาวมัดต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง เพื่อเป็นการทำพิธีคารวะเจ้าอาวาสวัด
  • วันปากเดือน วันที่ 17 เมษายน เป็นวันที่ชาวล้านนาถือว่าเป็นวันส่งเคราะห์ต่าง ๆ ให้ออกจากตัว อาทิ พิธี “ล่องสังขาน” ซึ่งเป็นการจัดขบวนแห่นำลอยเคราะห์ให้ไหลไปตามน้ำ และอีกหนึ่งพิธีคือ พิธีค้ำโพธิ์ ซึ่งเป็นการนำเอาไม้กระถินที่ลอกเปลือกออกแล้วทาด้วยขมิ้นมาค้ำยันไว้ที่ต้นโพธิ์ เพื่อให้หนุนนำค้ำจุ้นชีวิตให้เจอแต่เรื่องดีๆ ยิ่งขึ้น
ทำพิธีค้ำโพธิ์

สงกรานต์ภาคกลาง

ก่อเจดีย์ทรายสงกรานต์

สำหรับวันสงกรานต์ของภาคกลางจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 13 – 15 เมษายน โดยถือเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ไทย ซึ่งความเชื่อและประเพณีต่าง ๆ ที่จะเหมือนที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ การทำบุญใหญ่ทั้ง 3 วัน คือ ทำบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา สรงน้ำพระพุทธรูป สรงน้ำพระ บังสกุลกระดูกบรรพบุรุษอุทิศบส่วนุญกส่วนุศล ขนทรายเข้าวัด ก่อพระเจดีย์ทรายเป็นต้น

สงกรานต์ภาคอีสาน

หรือที่เรียกว่า บุญสรงน้ำ ตรุษสงกรานต์เดือนห้า ชาวภาคอีสานถือว่าเป็นช่วงวันสำคัญแห่งการรวมตัวของลูกหลาน ญาติพี่น้องที่อยู่ไกลบ้าน จะพากันเดินทางกลับบ้านเกิดในช่วงนี้ และยังเป็นช่วงของการทำบุญของทางภาคอีกสานด้วย

โดยบุญที่ว่านี้แบ่งเป็น 2 ช่วงด้วยกัน คือ การทำบุญตักบาตรลานกลางในวันตรุษ ช่วงที่สองการทำบุญตักบาตรที่ลานบ้านในวันสงกรานต์

สำหรับสงกรานต์ของภาคอีสานหมายถึง วันที่พระอาทิตย์ เคลื่อนย้ายจากฤดูหนาว เข้าสู่ฤดูร้อนจึงเรียก ตรุษสงกรานต์ โดยกำหนดวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เรียกกันว่า บุญเดือนห้า จะเริ่มพิธีบุญเดือนห้าเมื่อถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เวลาบ่าย 3 โมง

ผู้หญิงกำลังรดน้ำพระพุทธรูป

ซึ่งการทำบุญตักบาตรลานกลางในวันตรุษนี้ จะเริ่มพิธีเมื่อพระสงฆ์ตีกลองโฮม จากนั้นชาวบ้านจะนำน้ำอบ น้ำหอมเอามารวมกันที่ศาลาโรงธรรม พระสงฆ์เริ่มทำความสะอาดพระพุทธรูป ชาวบ้านทำพิธีสู่ขวัญ สรงน้ำพระพุทธรูป สรงน้ำพระสงฆ์ และทำบุญเลี้ยงพระในวันรุ่งขึ้นของวันถัดไป พิธีนี้จะทำวนไปเรื่อยๆ จนถึงวันเพ็ญเดือนหก รวมเป็นระยะเวลาหนึ่งเดือนเต็ม

ทั้งนี้นอกจากงานบุญข้างต้นแล้ว ทางภาคอีสานก็ยังมีกิจกรรมรื่นเริงต่าง ๆ เล่นน้ำ เหมือนกับทั้งทุกภาคด้วยเช่นกัน

สงกรานต์ภาคใต้

พิธีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่

ชาวใต้มีความเชื่อกันว่าช่วงเวลาเทศกาลสงกรานต์เป็นเวลาในการผลัดเปลี่ยนเทวดารักษาดวงชะตาบ้านเมือง ดังนั้นชาวใต้จะเรียกวันมหาสงกรานต์ว่า วันส่งเจ้าเมืองเก่า ซึ่งในวันนี้ชาวใต้จะชำระทำความสะอาดบ้าน และร่างกาาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นพิธีสะเดาะเคราะห์ หรือลอยเอาสิ่งที่ไม่ดีออกไป

ในวันรุ่งขึ้นจะเป็น วันเนา เรียกกันว่า วันว่าง ในวันนี้ชาวใต้จะเข้าวัดทำบุญตักบาตร และสรงน้ำพระพุทธรูป งดทำพิธีกรรมต่าง ๆ ในวันนี้ แต่ชาวบ้านจะมีการนำเอาสากมามัดรวมกันด้วยด้ายแดงด้ายขาว แล้วนำไปตั้งไว้ในครกใส่น้ำลงไป เรียกว่า “แช่สากแช่ครก” ซึ่งหมายถึงว่าจะไม่มีการใช้ในวันว่าง

นอกจากนี้ยังมีวัฒนธรรมที่พ่อบ้านแม่บ้านต้องเตรียมชุดใหม่ให้ลูกหลาน และตัวเองใส่ในวันสุดท้าย ลูกหลานก็ต้องจัดเตรียมผ้าแพรให้กับพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย และในวันที่สามจะเป็นวันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์ ชาวใต้จะเรียกวันนี้ว่า “วันรับเจ้าเมืองใหม่” เชื่อกันว่าเป็นวันที่เทวดาองค์ใหม่ได้มาประจำดูแลรักษาบ้านเมือง

จึงทำการต้อนรับด้วยการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่สวยงาม ไปทำบุญตักบาตรที่วัด รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่หากครอบครอบใดที่มีญาติพี่น้องมาก ก็จะประกอบพิธีใหญ่ เรียกว่า “ขึ้นเบญจา” คือประเพณีการอาบน้ำให้คนเฒ่าคนแก่ ญาติผู้ใหญ่ เสมือนลูกหลานได้ทำพิธีขอขมา อาบน้ำรดน้ำเฉพาะภายในเครือญาติ เมื่อเรียบร้อยแล้วตัวแทนลูกหลานมอบผ้าคู่ให้ญาติผู้ใหญ่

ประเพณี หมายถึง

สิ่งที่ยึดถือและปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาแต่โบราณในสังคมหนึ่ง ๆ จนกลายเป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียมที่ยึดถือ หากมีใครที่ที่ประพฤติตัวแปลกออกไปจะถือว่าเป็นการทำผิดประเพณีต้องแก้ไขให้ถูกต้องตามแบบแผนที่สืบทอดต่อกันมา

เอกลักษณ์เฉพาะถิ่น คือ

สิ่งมีชีวิต หรือสิ่งของที่มีเฉพาะในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งแต่ละท้องถิ่นจะมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่แสดงออกแคบ ๆ ไม่กว้างขวางมากนัก เช่น เอกลักษณ์การนุ่งเสื้อผ้าสีดำ เป็นของชนเผ่าลาหู่ เป็นต้น

นางสงกราต์ทั้ง 7 ชื่อ

นางทุงษะเทวี ประจำวันอาทิตย์ , นางโคราคะเทวี ประจำวันจันทร์ , นางรากษสเทวี ประจำวันอังคาร , นางมณฑาเทวี ประจำวันพุทธ , นางกิริณีเทวี ประจำวันพฤหัสบดี , นางกิมิทาเทวี ประจำวันศุกร์ และ นางมโหธรเทวี ประจำวันเสาร์

ขอบคุณรูปจาก เชียงใหม่นิวส์

สรุป สงกรานต์4ภาค

ประเพณี สงกรานต์4ภาค นั้นมีแนวคิดรายละเอียดโดยรวมแล้วเหมือนกัน เพียงแต่ว่ารายละเอียดของพิธีกรรมจะแตกต่างกันไปของแต่ละภาคตามความเชื่อของท้องถิ่นนั้น ๆ

ซึ่งต่างก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละภาค ต้องขอบอกเลยว่าหากได้ไปเยือนตามภาคต่าง ๆ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ห้ามพลาดที่จะกลมกลืนไปกับชาวบ้านแต่ละท้องถิ่น ดั่งสุภาษิตที่ว่า เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม เพราะนอกจากจะสนุกแล้ว ยังเปิดประสบการณ์ชีวิตในการเที่ยวสงกรานต์ในแบบที่ไม่เคยมาก่อนด้วย

บทความที่น่าสนใจ