รู้หรือไม่ ? บูชา พระรัตนตรัย อย่างถูกวิธี ช่วยเสริมบารมีโชคลาภ
ยิ่งโลกพัฒนามากขึ้นเท่าไหร่ คนรุ่นใหม่ยิ่งห่างไกลพระพุทธศาสนามากขึ้นเท่านั้น บทสวดมนตร์หลังเข้าเเถวเคารพธงชาติสมัยประถม มัธยม พอเข้ามหาลัยก็จำเเทบไม่ได้เเล้วว่าท่องยังไง เเต่ที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้น คือถ้าถามรายคนว่า บทสวดบูชา พระรัตนตรัย ที่ท่องเป็นนกเเก้ว นกขุนทองรู้ความหมายบ้างไหม ก็คงมีไม่กี่คนที่ตอบได้อีกเช่นกัน
เเต่ไม่เป็นไรค่ะ!! ถึงตอนนั้นไม่รู้ วันนี้หนูษาจะทำให้ทุกคนได้รู้ว่า การไหว้พระสวดมนตร์ที่เราทำจนเคยชินนั้น มีผลต่อชีวิตอย่างไร เเละจะพาไปดูวิธีการบูชาพระรัตนตรัยอย่างถูกวิธี เพื่อสร้างเสริมบารมี ให้ชีวิตพบเเต่สิ่งดี ๆ
พระรัตนตรัย คืออะไร
คำว่า ‘รัตนตรัย’ มาจากคำว่า ‘รัตน’ หมายถึง เเก้วหรือสิ่งประดิษฐ์ เเละคำว่า ‘ตรัย’ หมายถึง สาม เมื่อนำสองคำนี้มารวมกัน หมายถึง เเก้วสามดวง หรือสิ่งประดิษฐ์สามสิ่ง ได้เเก่
- 1. พระพุทธ เป็นผู้ที่ตรัสรู้เองและสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม
- 2. พระธรรม คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เป็นหลักความจริงที่นำมาเป็นหลักความประพฤติ
- 3. พระสงฆ์ คือ หมู่สาวกผู้ปฎิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
พระรัตนตรัยจึงเปรียบเสมือนหลักคำสอนอันสูงสุด ที่ชาวพุทธทุกคนควรระลึกถึง เเละนำไปประพฤติปฏิบัติ
การบูชาพระรัตนตรัย ทำอย่างไร
ปกติเเล้วการบูชาพระรัตนตรัยอย่างถูกวิธี จะมีการตั้งโต๊ะหมู่บูชาก่อน โดยมีพระพุทธรูปเป็นประธาน ประดิษฐานไว้ในที่สูง จะเป็นแท่นใหญ่หรือบนโต๊ะหมู่ก็ได้ เมื่อตั้งโต๊ะหมู่บูชาเรียบร้อยเเล้ว ให้เตรียมเครื่องสักการะดังนี้
เครื่องสักการบูชา 3 อย่าง
- 1. ธูป 3 ดอก หมายถึง พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ เเละพระมหากรุณาธิคุณ
- 2. เทียน 2 เล่ม หมายถึง มีหลักคำสอน ๒ ประเภท คือ พระวินัยหรือศีล เเละพระธรรม
- 3. ดอกไม้
จุด ธูป เพื่อมุ่งบูชา ‘พระพุทธคุณ’ เปรียบความหอมของธูป ดังพระพุทธคุณที่ยังคงความหอมหวนอยู่เสมอ แม้พระองค์เสด็จดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานนานมาแล้วก็ตาม
จากนั้นให้จุดเทียนจุดเล่มซ้าย ซึ่งหมายถึง ศีลซึ่งกำจัดกิเลสอย่างหยาบ ตามด้วยเล่มขวา ซึ่งหมายถึง เทียน พระธรรมอันเป็นเครื่องกำจัดกิเลสอย่างละเอียด และรักษาผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมมิให้ตกไปทางที่ชั่ว ดังนั้นการจุดเทียนให้ความสว่าง ก็เพื่อบูชา พระธรรมคุณ ด้วยเหตุผลที่ว่า… ดวงประทีปส่องหนทางให้คนเดินไปได้โดยสะดวกฉันใด ธรรมะก็เป็นเครื่องช่วยชี้ทางชีวิตให้ก้าวหน้าไปอย่างสบายฉันนั้น ดังประโยค “หนทางสว่างด้วยแสงไฟ จิตใจสว่างด้วยแสงธรรม”
สุดท้าย ดอกไม้ หมายถึง คุณงามความดี เพื่อบูชา ‘พระสังฆคุณ หรือพระสงฆ์’ ด้วยเหตุผลที่ว่า ดอกไม้ที่อยู่ในแจกันหรือบนพานซึ่งจัดประดับดีแล้ว ย่อมงามกว่าส่วนที่อยู่บนต้นไม้ต่างๆ ซึ่งยังเกะกะไม่มีระเบียบฉันใด พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค ที่ท่านปฎิบัติดีแล้วในพระธรรมวินัย ก็ย่อมดีงามกว่าปุถุชนคน นอกพระธรรมวินัยฉันนั้น
คำสวดนมัสการบูชาพระรัตนตรัย
ในการสวดบูชาพระรัตนตรัยนั้น จะต้องกราบเบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้งก่อน เเล้วให้ระลึกว่า …
- กราบครั้งที่ 1 ระลึกว่า “พุทฺโธ เม นาโถ” พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งของเรา
- กราบครั้งที่ 2 ระลึกว่า “ธัมโม เม นาโถ” พระธรรมเป็นที่พึ่งของเรา
- กราบครั้งที่ 3 ระลึกว่า “สังโฆ เม นาโถ” พระสงฆ์เป็นที่พึ่งของเรา
หลังกราบครบ 3 ครั้ง ก็ให้สวดมนตร์ ตามบทสวดด้านล่างนี้
บทสวดนมัสการบูชาพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สังฆัง นะมามิ (กราบ)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอขมาพระรัตนตรัย
อุกาสะ อัจจะโย โน ภันเต อัจจัคคะมา ยะถาพาเล ยะถามุฬเห
ยะถาอะกุสะเล เย มะยัง กะรัมหา เอวัง ภันเต มะยัง อัจจะโย โน
ปะฏิคคัณหะถะ อายะติง สังวะเรยยามิ
คำกล่าวบูชาไตรสรณคมน์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ต่อไปพระผู้นำกล่าวรับว่า)
อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ
สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเย
พุทธะบูชา มหาเตชะวันโต
ธัมมะบูชา มหาปัญโญ
สังฆะบูชา มหาโภคะวาโห
ติโลกะนาถัง อภิปูชะยามิ
พุทธัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร
ปูริสะทัมมสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ (กราบ)
ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติ (กราบ)
สังฆัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ (กราบ)
สรุป
การบูชาพระรัตนตรัยอย่างถูกวิธี ไม่ใช่เรื่องยากเเละซับซ้อนอย่างที่คิด เพียงเเค่ทำจิตใจให้อยู่ในความสงบ เตรียมเครื่องสักการะบูชา ประกอบด้วย ธูป 3 ดอก เทียน 3 เล่ม เเละดอกไม้ชนิดใดก็ได้ ทำตามขั้นตอนที่ได้กล่าวมาก่อนข้างต้น เเล้วกล่าวบทสวดมนตร์ตามลำดับ ด้วยความศรัทธาเเละเลื่อมใส เพียงเท่านี้โชคลาภเเละบารมีก็จะเกิดเเก่ตัวท่านอย่างเเน่นอน